วันพฤหัสบดีที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2556

LEXUS LFA รถที่แพงที่สุดของญี่ปุ่น (ตอนที่2)

ย้อน กลับไปในปี 2004 หัวหน้าทีมวิศวกรของ Lexus Mr. Tanahashi ใช้ความพยายามในการที่จะสร้างรถซุปเปอร์คาร์ของญี่ปุ่นที่เทียบได้กับซุป เปอร์คาร์ของยุโรป
หลัง จากรับคำสั่งโดยตรงมาจากประธาน บริหาร Toyota ทีมพัฒนารถสปอร์ตต้นแบบได้ย้ายฐานการทดสอบไปที่สนาม Nurburgring ในเยอรมนี สำหรับค่ายผู้ผลิตรถยนต์แล้ว สนามทดสอบ Nordschleife ใน Nurburgring คือสถานที่ที่มีความเหมาะสมในการทดสอบประสิทธิภาพของตัวรถต้นแบบ นี่คือที่ๆ LFA คันต้นแบบจะถูกนำมาวิ่งทดสอบ สนามความยาว 20 กิโลเมตรแห่งนี้ เป็นที่รู้กันดีว่ามันคือสนามทดสอบที่มีความโหดร้ายและอันตรายแฝงอยู่ เป็นเวลาถึง 4 ปีเต็มกับการทำงานของทีมวิศวกรที่เกี่ยวข้องกับงานวิศวกรรมบนตัวรถ ทั้งจุดที่เป็นหลุม เป็นเนิน โค้ง และทางตรงยาวสุดสายตาที่มีอยู่นับไม่ถ้วนบน Nordschleife การพัฒนาของทีมวิศวกรผู้สร้าง LFA จะต้องทำให้เสร็จสิ้นก่อนเส้นตายที่ตัวรถจะถูกส่งลงสู่สายการผลิต ในปี 2008 รถต้นแบบ LFA จำนวน 2 คัน ถูกส่งลงไปทดสอบบนสนามแข่งแบบมาราธอน 24 ชั่วโมงใน Nurburgring ข้อมูลต่างๆ ของตัวรถขณะทำการแข่งขันถูกจดบันทึกแล้วนำตัวเลขของค่าต่างๆ ที่ได้รับมาปรับใช้กับรถ LFA ที่จะผลิตออกขาย การแข่งขันสุดโหดทำให้ Lexus สามารถพัฒนาตัวรถได้เป็นอย่างดี การทดสอบที่กระทำกันอย่างต่อเนื่องมาประสบผลสำเร็จในปี 2009 รถแข่ง LFA ที่ถูกปรับแต่งคว้าชัยชนะครั้งสำคัญ ในที่สุด Tanahashi ก็ประสบความสำเร็จตามที่ต้องการและในปี 2010 LFA คันแรกสุดก็ออกจากสายการผลิตของโรงงาน Lexus ในญี่ปุ่น

ปี 2011 รถ LFA รุ่นพิเศษถูกเปิดตัวภายใต้ชื่อ Nurburgring เพื่อเป็นเกียรติแก่สนามแห่งนี้ ซึ่งถือได้ว่าสนาม Nurburgring คือจุดกำเนิดของรถสปอร์ตสมรรถนะสูงคันนี้ รถ LFA Nurburgring มีเครื่องยนต์ V10 ที่ถูกปรับแต่งให้มีกำลังมากยิ่งขึ้น แรงม้าเพิ่มเป็น 571 แรงม้า พลังที่เพิ่มขึ้นนี้ต้องอาศัยแรงกดหรือ downforce มากยิ่งขึ้นเพื่อให้รถยึดเกาะกับผิวถนนได้ดีขึ้นกว่ารุ่นปกติ สปอยเลอร์หลังหรือวิงหลังขนาดใหญ่จึงถูกนำมาติดตั้ง ปีกที่ด้านหน้ากันชนซ้ายและขวาเข้ามาช่วยเพิ่มแรงกดให้มากขึ้นโช้คอัพที่ เตี้ยลงอีก 10 มิลลิเมตร (จากสปริงแบบพิเศษ) และมีค่าที่แข็งขึ้นกว่าปกติช่วยทำให้ LFA Nurburgring มีความเหมาะสมกับสนามแข่งความเร็วสูง เมื่อรถรุ่นพิเศษคันนี้มีแรงบิดเพิ่มขึ้นระบบส่งกำลังซึ่งเป็นเกียร์ไฟฟ้า จึงถูกปรับแต่งให้ดีขึ้นตามไปด้วย การปรับแต่งเพื่อลดระยะเวลาในการเปลี่ยนถ่ายอัตราทดขึ้น-ลงให้เหลือน้อย ที่สุด ชุดเกียร์ของ LFA Nurburgring มีการทำงานที่ว่องไวมาก การผลิตรุ่น Nurburgring เพียงแค่ 50 คันเท่านั้น แต่ละคันมีราคาสูงกว่า LFA รุ่นมาตรฐาน 70,000 เหรียญ


เบาะ หนังในรุ่นมาตรฐานถูกยกออกไปแล้วแทนที่ด้วยเบาะแข่งของ Recaro ยาง Bridgestone Potenza RE070 มีขนาดใหญ่ขึ้นและถูกออกแบบมาสำหรับลงทำการแข่งขัน ความสูงของช่วงล่างลดลง 10 มิลลิเมตรจากโช้คอัพเดิมและสปริงแบบใหม่ แผ่นสปลิตเตอร์ที่ใหญ่ขึ้นและปีกเล็กที่ด้านข้างของกันชนหน้าที่เรียกว่า Canard ทำจากคาร์บอน ทั้งหมดทำให้น้ำหนักตัวของ LFA Nurburgring ลดลงอีก 10 กิโลกรัม เกียร์เปลี่ยนได้เร็วขึ้นจาก 0.20 วินาที มาเป็น 0.15 วินาที เร็วพอๆ กันกับเกียร์ของ Ferrari FF


การ นำเอาวัสดุผสมประเภทเส้นใยคาร์บอน และอะลูมิเนียมมาใช้ถือเป็นเรื่องปกติที่วงการซุปเปอร์คาร์นิยมนำมาประกอบ ขึ้นเป็นตัวรถโดยมุ่งเน้นไปที่การลดน้ำหนัก แต่มีความแข็งแกร่งเพิ่มมากขึ้น ตัวถังของ Lexus LFA มีความเบามากกว่าทั้ง Aston Martin DBS และ Ferrari 599 ซึ่งรถสปอร์ตจากฝั่งยุโรปทั้งสองค่ายใช้อะลูมิเนียมมาทำเป็นโครงรถ แต่ Lexus LFA ใช้ทั้งคาร์บอนคอมโพสิตและอัลลอยส่วนผสมพิเศษมาขึ้นรูปเป็นแซสซี โครงสร้างตัวถังและชิ้นส่วนต่างๆ มากถึง 65% จากน้ำหนักของตัวรถ โดยมีอัตราการกระจายน้ำหนักที่เกิดจากการวิเคราะห์ในสนามแข่งขันจนมีค่าที่ เหนือกว่าทั้ง Porsche 911/997 Turbo และ Ferrari 599 GTB จากข้อมูลในการประมวลผลที่ได้รับในการวิ่งทดสอบในสนามแข่งรถของเยอรมนี ที่ Nurburgring ระบบแอร์โร่ไดนามิกที่เกิดจากการทดสอบทางอากาศพลศาสตร์ของ Lexus LFA เกิดขึ้นจากความคิดที่เรียบง่ายด้วยการทำให้อากาศไหลผ่านบริเวณใต้ท้องรถ เคลื่อนที่ได้เร็วกว่าอากาศที่ไหลผ่านตัวถังด้านบนด้วยการใช้หลักการ "ล่างไหลเร็วกว่าบน" ผลที่เกิดขึ้นหลังจากนั้นคือแรงกดหรือค่า Down force ที่สูงขึ้นเมื่อวิ่งด้วยความเร็ว ซีลปิดใต้ท้องเพื่อลดกระแสหมุนวนของอากาศช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและความเสถียร ให้กับ Lexus LFA อย่างสูงสุดเมื่อมันเริ่มต้นทำความเร็ว


อากาศ ที่ไหลผ่านตัวถังด้านบนทั้งหมด ถูกทำให้เคลื่อนที่ช้าลงเพื่อนำมาสู่แรงกดของตัวรถ ซึ่งเป็นหน้าที่ของครีบและท่อดักอากาศที่ทำเป็นพอร์ตอยู่ในบริเวณทั่วทั้ง คัน เช่น สปอยเลอร์หน้าขนาดใหญ่และมีช่องทางนำอากาศเข้าถึงสามช่อง ช่องตรงกลางที่มีขนาดใหญ่สุดใช้ในการนำเอาอากาศเข้าไประบายความร้อนให้กับ เครื่องยนต์และนำส่วนหนึ่งไปที่ท่อไอดี ส่วนสองช่องทางด้านซ้ายและขวาทำหน้าที่ระบายความร้อนให้กับ Oil Cooler ของระบบหล่อลื่นแบบ Dry Sump และเป่าลมเย็นให้กับจานดิสแบบคาร์บอนเซรามิก ชายล่างของประตูและมุมขอบเสาหลังมีปล่องดักอากาศที่ใช้ทั้งการเพิ่มแรงกด และการระบายความร้อนให้กับชุดเบรกหลังและหม้อน้ำที่อยู่ในตำแหน่งประหลาดที่ สุด (หม้อน้ำทั้งคู่อยู่หลังซุ้มล้อหลัง) วิงหลังอัตโนมัตที่มีการทำงานร่วมกันระหว่างมอเตอร์ขนาดจิ๋วและตัวตรวจจับ สปีดของรถ ในสภาวะการวิ่งปกติที่ใช้ความเร็วต่ำ วิงหลังหรือ Active Rear Wing ของ Lexus LFA ในรุ่นปกติจะถูกพับเก็บอยู่บนขอบของฝาท้าย และจะทำงานด้วยการยกตัวขึ้นทันทีที่ความเร็วเกิน 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง พร้อมการทำงานในระบบอัตโนมัติด้วยการแปรผันองศาของ Wingไปตามความเร็วของตัวรถเพื่อเพิ่มหรือลดค่าแรงกดของอากาศด้วยการใช้ งานอย่างสูงสุดในทุกย่านความเร็ว ส่วนวิงหลังของรุ่นพิเศษ LFA Nurburgring ซึ่งทำจากคาร์บอนคอมโพสิต จะถูกยึดติดตายกับฝาท้ายแบบของรถแข่ง


เครื่อง ยนต์ วางด้านหน้าตามยาว V10 สูบขนาด 4.8 ลิตร 4,805 ซีซี. ตำแหน่งของเครื่องยนต์ถูกร่นให้เข้าหากึ่งกลางของตัวรถมากที่สุดเพื่อการ กระจายน้ำหนักที่ดี เครื่องตัวนี้ทำตัวเลียนแบบเครื่องยนต์ V10 ของรถแข่ง F1 โดยไม่มีระบบอัดอากาศใดๆ ทั้งสิ้น เครื่องยนต์จะหายใจด้วยตัวเองโดยนำเทคโนโลยีที่ใช้ในรถแข่ง F1 ของทีม Toyota เข้ามาผนวกกับการออกแบบชิ้นส่วนทั้งภายนอกและภายในตัวเครื่อง รวมถึงระบบนำอากาศเข้าสู่ไอดี แคมชาร์ป วาวล์ไอดีระบบแปรผันแบบใหม่ล่าสุดทั้งสองฝั่ง Dual VVT-i และระบบระบายความร้อนที่ใช้หม้อน้ำสองใบที่ติดตั้งอยู่ใกล้กับซุ้มล้อหลัง ระบายพร้อมกันทั้งสองฝั่ง ต้นกำลังของ LFA สร้างแรงม้าได้ถึง 552 ตัวพร้อมแรงบิดทะลุมิติที่ 354 ปอนด์ฟุตหรือ 480 นิวตันเมตร แต่แรงบิดของมันยังคงด้อยกว่า Ferrari California อยู่เล็กน้อยทั้งที่ความจุของเครื่องยนต์วี 8 ใน Ferrari California ต่ำกว่า Lexus LFA อยู่ถึง 300 ซีซี. ระบบส่งกำลังเกิดจากเกียร์อัตโนมัติ 6 สปีด ASG ที่สามารถปรับเปลี่ยนตำแหน่งเกียร์ขึ้น-ลงได้ในเวลาเพียง 0.2 วินาที (ในรุ่น Nurburgring เกียร์จะเปลี่ยนไวขึ้นที่ 0.15 วินาที) เกียร์ทั้งยวงถูกนำไปรวมอยู่กับชุดเฟืองท้ายเหมือนกับ Aston Martin DBS โดยมีเพลากลางคาร์บอนเชื่อมต่อกับเครื่องยนต์ที่ด้านหน้าเพื่อเหตุผลของการ เฉลี่ยและลดน้ำหนักให้มีความสมดุลทั่วทั้งคัน หม้อน้ำอะลูมิเนียมทั้งสองใบมีพัดลมไฟฟ้าขนาดใหญ่เมื่อบวกกับดีไซน์ประหลาด ใน การนำมันมาไว้ด้านหลังเนื่องจากการใช้ประโยชน์ของพื้นที่โครงสร้าง และการนำเอาอากาศความเร็วสูงท่ี่ไหลมายังส่วนบนช่วยระบายความร้อน ในขณะเดียวกัน ท่อเพื่อปลดปล่อยกระแสลมให้ออกไปทางด้านหลังสามารถถ่ายเทลมได้อย่างไร้ขีด จำกัด น้ำหนักรวมทั้งคันประมาณ 1,580 กิโลกรัม ตามระดับของการตกแต่งที่สามารถเลือกออปชั่นระบบอำนวยความสะดวกได้อีกเพียบ โครงสร้างรอบห้องโดยสารประกอบขึ้นจากวัสดุ CFRP หรือ Carbon Fiber Re-Inforced Plastic โดยนำเส้นใยเหล่านั้นมาถักทอขึ้นเป็นรูปทรงของชิ้นส่วนตามต้องการ มีคุณสมบัติในการรับแรงไม่แตกต่างไปจากเหล็กกล้า จากนั้นจึงนำเอาชิ้นส่วนที่ขึ้นรูปมาเชื่อมต่อกันเป็นโครงรถด้วยการประกอบ ด้วยมือของช่างแทนที่การประกอบด้วยหุ่นยนต์เพื่อความละเอียดและแม่นยำประณีต สูงสุด


พวง มาลัยที่ใช้มอเตอร์ไฟฟ้าถูกนำเข้ามาติดตั้งในรถทดสอบ และสามารถทำได้ตามค่าที่วิศวกรของ Toyota ตั้งไว้ Lexus LFA จึงใช้มันแทนพวงมาลัยพาวเวอร์ที่ใช้ระบบน้ำมันไฮดรอลิกแรงดันสูง เนื่องจากปัญหาของการกินกำลังจากเครื่องยนต์และชิ้นส่วนต่อเชื่อมที่มากกว่า พวงมาลัยแบบไฟฟ้า การทำงานของพวงมาลัยไฟฟ้าในรถ LFA แบบอัตราทดคงที่สื่อสารกับผู้ขับได้ในระดับที่ดีสามารถถ่ายทอดความรู้สึกและ สัมผัสจากผิวถนนได้ดีกว่า เนื่องจากมันมีระบบช่วยทรงตัว ESP ที่จะทำงานในระดับสูงสุดทุกครั้งที่ตัวรถเสียอาการ ทำให้พวงมาลัยพาวเวอร์แบบเก่าหมดความหมายไปโดยปริยาย ส่วนระบบกันสะเทือน ด้านหน้าของ Lexus LFA ใช้แบบดับเบิ้ลวิชโบนพร้อมเหล็กกันโคลงที่มีการปรับตั้งให้ทำงานประสานไปกับ พวงมาลัยไฟฟ้าได้ดี ส่วนด้านหลังจะใช้แบบมัลติลิงก์ โดยชิ้นส่วนของช่วงล่างจำนวนมากใน Lexus LFA จะทำจากอะลูมิเนียมและสามารถปรับตั้งได้ถึงสามระดับ

งาน ประกอบที่เน้นความละเอียดประณีตในระดับสูงสุดทำให้เกิดความล้าช้าแต่ไม่ใด้ ก่อปัญหาใดๆ ในขั้นตอนของการทำงาน หัวหน้าวิศวกรของ Lexus Mr. Yamanaka อบรมพนักงานและช่างทุกคนให้ทำงานช้าๆ ด้วยความระมัดระวังโดยคำนึงถึงความแม่นยำเป็นหลัก เนื่องจากพนักงานทุกคนในโรงงานแห่งนี้กำลังประกอบจักรกลที่มีคุณภาพ และเพื่อเป็นการรับประกันคุณภาพของงานที่ออกมาจึงจำเป้นต้องใช้เวลามากกว่า ปกติซึ่งหมายถึงการทำงานล่วงเวลาเพื่อให้สายการผลิตเป็นไปตามที่ผู้บริหาร กำหนดคือรถ LFA หนึ่งคันต่อหนึ่งวันที่จะต้องวิ่งออกจากโรงงานไปยังบ้านของลูกค้า การผลิตออกมาเพียงแค่ 500 คันทำให้รถ Lexus LFA ต้องยุติสายการผลิตลงเมื่อครบสองปี และทำให้มันกลายเป็นรถที่มีความพิเศษมาก ผู้บริหารของค่ายหัวลูกศรไม่มีแผนที่จะผลิตเพิ่ม ราคาของ LFA อยู่ที่ 375,000 เหรียญยูเอส หรือคิดเป็นราคารวมภาษีของประเทศไทยจะอยู่ที่ประมาณ 53 ล้านบาท เป็นเรื่องที่ยากมากหากคิดจะหากำไรจากการผลิตในรูปแบบลิมิเต็ดอิดิชั่นเพียง แค่ 500 คัน ซุปเปอร์คาร์ LFA ถือเป็นรถถนนที่แพงที่สุดของญี่ปุ่น แม้จะมีราคาแพงระยับแต่เมื่อคิดต้นทุนของการวิจัย พัฒนาและสร้างขึ้นมาทั้งคันแล้ว งานนี้ขอบอกว่า Lexus ขาดทุนย่อยยับแบบตำน้ำพริกละลายแม่น้ำกันเลยทีเดียว แต่การผลิต LFA ออกมาได้ยกระดับแบรนด์ Lexus ให้เป็นที่ยอมรับทั่วโลก ตำนานของ LFA จะทำให้ลูกค้าพึงพอใจอย่างมากกับรถทุกคันของ Lexus ที่ผลิตออกขาย

Lexus LFA Specifications
แบบ.............................................. สปอร์ตสองประตูสองที่นั่ง
ลักษณะการวางเครื่องยนต์.............. เครื่องยนต์วางด้านหน้าทำมุม 70 องศา ขับเคลื่อนล้อหลัง
เครื่องยนต์....................................V10 สูบ 40 วาวล์ 4วาว์ลต่อสูบ ดับเบิ้ลโอเวอร์เฮตแคม
ปริมาตรความ จุ..............................4,805 ซีซี.
แรงม้า สูงสุด..................................552 แรงม้าที่ 8800 รอบต่อนาที
แรงบิด สูงสุด..................................480 นิวตันเมตรที่ 6800 รอบต่อนาที
ปริมาณแรงม้าต่อลิตร......................114.6 แรงม้า/ลิตร
อัตราส่วน กำลังอัด..........................12:0:1
ระบบจ่ายเชื้อ เพลิง..........................หัวฉีดอิเล็กทรอนิกส์
ฝา สูบ/ลูกสูบ..................................อะลูมินัมอัลลอย
อัตราเร่ง........................................0-100 กิโลเมตรใน 3.8 วินาที
ความเร็ว สูงสุด...............................325 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
ระบบส่ง กำลัง................................เกียร์เซมิออโต้ ASG 6 สปีด

ระบบ กันสะเทือน
ด้านหน้า.......................................ดับเบิ้ลวิช โบน คอยสปริง เหล็กกันโคลง
ด้าน หลัง.......................................มัลติลิงก์ คอยสปริง เหล็กกันโคลง
ล้อและยาง
ด้าน หน้า.......................................265/35/ZR 20 95Y Bridgestone RE070
ด้านหลัง.......................................305/30/ZR20 99Y Bridgestone RE070

ระบบเบรก
ด้านหน้า.......................................จานดิสเบรกคาร์บอน 390 มิลลิเมตร คาร์ลิปเปอร์ 6 สไลส์ลูกสูบ
ด้านหลัง.......................................จานดิสเบรกผสม 360 มิลลิเมตร คาร์ลิปเปอร์ 4 สไลส์ลูกสูบ

มิติตัวถัง
ความกว้าง....................................1,895 มิลลิเมตร
ความยาว......................................4,505 มิลลิเมตร
ความสูง........................................1,220 มิลลิเมตร
น้ำหนัก.........................................1,480.73 กิโลกรัม
จำนวนการผลิต..............................500 คัน
ราคา............................................. ประมาณ 53 ล้านบาท

อาคม รวมสุวรรณ
E-Mail @thairath.co.th">chang.arcom@thairath.co.th
Facebook https://www.facebook.com/chang.arcom


http://www.roddb.com/images/banners/RodDB_88x31.gif

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น