วันพฤหัสบดีที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2554

เจาะลึก NISSAN GTR

Pic_177789
การถือกำเนิดขึ้นของรถสปอร์ต GT -Nissan GTR ทำให้โลกต้องตื่นตะลึงกับเทคโนโลยีเครื่องยนต์ V6 ทวินเทอร์โบอันสุดยอด รวมถึงระบบขับเคลื่อน 4 ล้ออัจฉริยะ ส่งผลให้มันกลายเป็นซุปเปอร์คาร์ยุคปัจจุบันจากแดนปลาดิบที่สามารถเอาชนะรถ อย่าง Porsche 911 Turbo / Ferrari 430 / Aston Martin DBS หรือแม้แต่ Lamborghini Gallardo ได้อย่างสบายๆ...

การ ทำความเร็วให้ได้เกินกว่า 300 กิโลเมตรต่อชั่วโมง นอกจากเครื่องยนต์และระบบส่งกำลังที่ต้องทำงานประสานไปด้วยกันแล้ว รูปทรงของตัวรถก็มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน เนื่องจากในย่านความเร็วสูงนั้น ระบบอากาศพลศาสตร์ที่ดีจะส่งผลให้ตัวรถสามารถพุ่งทะยานแหวกอากาศที่เข้ามา ปะทะตัวถัง รวมถึงช่วยให้รถมีการทรงตัวที่แม่นยำ น่ิงและควบคุมได้ในระดับความเร็วเกินกว่า 280 กิโลเมตรต่อชั่วโมงโดยไม่เหินทะยานหรือร่อนไปมาจากกระแสลมใต้ท้องรถ วิศวกรของ Nissan ใช้หลักแอร์โรไดนามิกส์ของ Porsche 911 Turbo ในการทดสอบ เพื่อศึกษาถึงกลไกความลับของเครื่องยนต์ 6 สูบอัดเทอร์โบ พร้อมด้วยระบบขับเคลื่อน 4 ล้อ ที่สามารถวิ่งทะลุกำแพงความเร็วในระดับ 300 กิโลเมตรต่อชั่วโมง แนวคิดดังกล่าวถูกนำมาปรับใช้ทั้งระบบขับเคลื่อน การทำงานของระบบส่งกำลังที่ต้องกระจายแรงบิดไปยังล้อทั้งสี่อย่างสมดุล

อากาศ พลศาสตร์บนตัวถังของ Nissan GTR ถูกวิศวกรให้ความสำคัญไม่น้อยไปกว่ากลไกของเครื่องยนต์แบบ V6 Twin Turbo โดยตั้งเป้าหมายให้รถสปอร์ต GT รุ่นนี้สามารถทำความเร็วได้เทียบเท่า หรือมากกว่าซุปเปอร์คาร์สายพันธุ์อิตาลี แรงต้านอากาศหรือ Drag Coeffcient : CD บนตัวรถทุกจุดถูกขัดเกลาจากอุโมงค์ลมทดสอบจนทำให้เหลือค่า CD ต่ำเพียง 0.27 ดีกว่า Porsche 911 Turbo ที่ทำได้เพียงแค่ 0.31 การสร้างความสมดุลในขณะที่กำลังทำความเร็ว โดยมุ่งเน้นไปที่การลดแรงยกขณะเคลื่อนที่ด้วยความเร็งสูง วิศวกรนำเอากระแสลมที่ปะทะผ่านตัวรถมาช่วยสร้างแรงกดตัวถังให้แนบสนิทกับ พื้นถนนด้วยชุดแอร์โรพาร์ตรอบคัน โดยให้แรงกดส่วนใหญ่ไปตกที่ซุ้มล้อหน้าและหลัง ช่องลมตอนหน้าของตัวรถ GTR เริ่มจากใต้กระจังด้านหน้า กระแสลมเกือบทั้งหมดที่เข้าปะทะจะถูกส่งผ่านไปยังห้องเครื่องยนต์ รวมถึงชุดคาร์ลิปเปอร์บวกจานเบรคของล้อคู่หน้า อากาศอีกส่วนหนึ่งจะไหลผ่านใต้ท้องรถและอีกส่วนถูกระบายออกไปที่บริเวณ ช่องลมด้านข้างตัวถังหลังซุ้มล้อหน้า ในส่วนของบั้นท้ายอากาศจะไหลผ่านขอบตัวถัง ฝากระโปรงหลังที่ติดตั้งวิงหลังขนาดใหญ่มาเป็นชุดดักอากาศที่ช่วยสร้างแรงกด ในบริเวณส่วนท้าย

กระแสลมที่หมุนวนใต้ท้องรถ ซึ่งทำให้เกิดแรงยกหรือ Liftforce ถูกแผ่นปิดใต้ท้องรถที่ออกแบบให้อากาศไหลผ่านได้อย่างราบเรียบจัดการกับ อากาศส่วนเกินดังกล่าว ส่วนท้ายบริเวณใต้สปอยเลอร์หลังยังมีครีบรีดอากาศหรือ Diffuser ผลิตจากวัสดุพวกคาร์บอนคอมโพสิตช่วยจัดให้อากาศี่ไหลผ่านมีความเป็นระเบียบ มากยิ่งขึ้น ลดลมหมุนวนในส่วนบั้นท้ายได้ดี ตัวถังของ Nissan GTR ใช้วัสดุในการประกอบแบบผสมผสานเช่นเดียวกันกับซุปเปอร์คาร์ระดับสูง โครงสร้างหลังของห้องโดยสารใช้โลหะประเภทเหล็กกล้า ในส่วนของประตูทั้งสองบานใช้อลูมินัมอัลลอยหล่อขึ้นรูปกับโครงประตู อลูมิเนียมน้ำหนักเบายังถูกนำไปใช้ที่ซุ้มอุโมงค์ล้อทั้งสี่ โครงด้นหลังห้องโดยสาร ซับเฟรมที่ใช้เป็นจุดยึดของระบบรองรับชุดกันสะเทือนหลัง รวมถึงแท่นเครื่องที่ใช้ในการยึดจับเครื่อง V6 Twin Turbo ทั้งตัว สำหรับส่วนที่ใช้คาร์บอนไฟเบอร์ได้แก่โครงสร้างด้านหน้าที่ใช้เป็นจุดยึดติด กับแผงหม้อน้ำระบายความร้อน แผ่นซีลปิดใต้ท้องรถทั้งคันตั้งแต่หลังเครื่องยนต์ไปจนถึงครีบรีดอากาศ Diffuser แผ่นปิดใต้ห้องเครื่องยนต์ใช้พลาสติกพวกโพลิเอทีลีนมีความเหนียวแน่นสูง คงทนต่อแรงกระแทก ส่วนแผ่นปิดด้านล่างของเครื่องยนต์เป็นแผ่นไฟเบอร์กลาสขึ้นรูป

การก ระจายน้ำหนักในอัตราส่วนที่สมดุลทั้งด้านหน้าและด้านหลังจะส่งผลไปถึงการ บังคับควบคุมตัวรถที่ได้ดั่งใจ รถยนต์สปอร์ตซุปเปอร์คาร์ส่วนใหญ่ทั้งแบบเครื่องวางกลางลำเช่น Ferrari 458 / Lamborghini LP570/4 Audi R8 V8-10 และรถสปอร์ต GT เครื่องยนต์วางตามยาวด้านหน้า ขับเคลื่อนสี่ล้อหรือสองล้อหลังเช่น Audi RS6 / BMW M3-M5 มีตัวเลขในการกระจายน้ำหนักอยู่ในระดับที่ดีเยี่ยม เคล็ดลับเหล่านี้วิศวกรของ Nissan บรรจงนำมาปรับใช้บนตัวรถ GTR การวางตำแหน่งเครื่องยนต์โดยร่นให้จุดยึดแท่นเครื่องอยู่ใกล้กับ จุดศูนย์กลางของตัวรถ เครื่องยนต์วางตัวอยู่คล่อมเพลาหน้าค่อนมาทางด้านหลัง กระปุกเกียร์พร้อมกับชุุดขับเคลื่อนสี่ล้อจากเดิมที่เคยอยู่ติดกับชุดเกียร์ ถูกย้ายไปไว้ที่เพลาหลังตามแบบ Premium Midship Package ทำตัวเลขอัตราส่วนการกระจายน้ำหนักที่ 53:47 ใกล้เคียงกับคำว่าสมบูรณ์แบบมากที่สุดแล้ว

หัวใจ ของการสร้างแรงม้าเกือบ 500 ตัวของเจ้า GTR เกิดขึ้นจากเครื่องยนต์ V6 ติดตั้งระบบอัดอากาศแบบเทอรโบคู่ โดยชุดเทอร์โบหนึ่งตัวรับหน้าที่อัดอากาศเข้ากระบอกสูบฝั่งละ 3 กระบอกสูบ เครื่อง V6 ของ GTR มีขนาดกระทัดรัด สั้นกว่าเครื่อง V8 หรือ V10แถมยังมีน้ำหนักเบากว่า สปอร์ต GT ของค่าย Nissan คันนี้มีเครื่องยนต์ที่ใช้รหัสว่า VR38DETT ความจุ 3.8 ลิตร สร้างแรงม้าจากการอัดอากาศของเทอร์โบ IHI กำลังสูงสุดบนแท่นวัดแรงม้าอยู่ที่ 485 แรงม้า หรือ 357 กิโลวัตต์ที่ 6,400 รอบต่อนาที เป็นรถยนต์คันแรกจากโรงงานในประเทศญี่ปุ่นที่แรงที่สุด (หลังจากนั้นมันจึงโดน Lexus LFA แย่งตำแหน่งนั้นไปครองบนตัวเลข 560 แรงม้าจากเครื่อง V10 เครื่อง VR38DETT ให้แรงบิดที่สม่ำเสมอตั้งแต่รอบต่ำไปจนถึงรอบสูงสุด แรงบิดที่แสดงเป็นกราฟอยู่ที่ 588 นิวตันเมตร ในรอบเครื่องประมาณ 3,200-5,200 รอบต่อนาที ปลอกสูบภายในกระบอกสูบหรือ Liners ใช้การเคลือบผิวด้วยกรรมวิธีแบบใหม่ที่เรียกว่า Plasma Coating ทำให้ความหนาของตัวปลอกสูบลดลงเหลือ 0.15 มิลลิเมตร จากของเดิมที่หนาถึง 2.6 มิลลิเมตร ทำให้วิศวกรของ Nissan สามารถวางตำแหน่งแถวของลูกสูบให้ชิดกันได้มากยิ่งขึ้น

ระบบ อัดอากาศแบบเทอร์โบคู่ ใช้เทอร์โบ 1 ตัวรับผิดชอบต่อสูบทั้ง 3 ชุดในแต่ละฝั่ง เทอร์โบตัวซ้าย รับแรงดันจากไอเสียในห้องเผาไหม้ฝั่งซ้าย แล้วอัดอากาศเข้าสู่อินเตอร์คูลเลอร์ตัวที่ 1 เพื่อทำการลดอุณหภูมิและเพิ่มความหนาแน่นของมวลอากาศก่อนจะส่งอากาศแรงดัน สูงไปยังห้องเผาไหม้ของฝั่งขวา ส่วนเทอร์โบที่ฝั่งขวาก็จะรับแรงดันไอเสียจากห้องเผาไหม้ฝั่งขวา แล้วทำการอัดอากาศผ่านอินเตอร์คูลเลอร์ตัวที่ 2 ก่อนส่งอากาศแรงดันสูงเข้าไปยังห้องเผาไหม้ฝั่งซ้าย เป็นการสร้างความสมดุลในระบบอัดอากาศที่ดีเยี่ยม โดยได้ผลลัพธ์เป็นแรงบิดอันมหาศาลเพื่อถ่ายทอดไปยังระบบส่งกำลังในขั้นตอน ต่อไป

ชุดเกียร์ของ Nissan GTR เป็นเกียร์กึ่งอัตโนมัติแบบทวินคลัตช์ โดยใช้พื้นฐานของซิงโครไนเซอร์ มี Hydraulic Control System จากบริษัทผู้ผลิตเกียร์ชั้นนำ Worg-Warner ทำหน้าที่เลือกตำแหน่งเกียร์ที่ประสานไปกับคลัตช์ทั้งสองชุดซึ่งเป็นคลัตช์ แบบหลายแผ่นทับซ้อนกัน คลัตช์ชุดแรกคอยตัดต่อกำลังของฟันเฟืองเกียร์ที่ 1-3-5 และตำแหน่งของเกียร์ถอยหลัง(R) ส่วนคลัตช์ชุดที่สองทำหน้าที่ตัดต่อกำลังของเฟืองเกียร์ 2-4-6 โดยใช้การทำงานของซิงโครไนเซอร์เลื่อนไปรับกำลังจากคู่เฟือง เหมือนกับเกียร์แมนนวลทั่วไป คุณประโยชน์ของเกียร์ทวินคลัตช์คือ สามารถให้อัตราทดที่ต่อเนื่องและนิ่มนวล มีอาการกระตุกเล็กๆพอให้ทราบว่าเกียร์ได้เปลี่ยนขึ้นลงแล้ว แถมยังส่งผลดีในเรื่องของอัตราการสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงที่ลดลง โดยมีอัตราเร่งและความรวดเร็วในการสับเปลี่ยนตำแหน่งเหนือกว่าเกียร์ อัตโนมัติแบบคลัตช์เดี่ยวเล็กน้อย

สมรรถนะอันสูงลิ่วบน ตัวรถ GTR เกิดจากการพัฒนาอันยาวนานในสายพันธุ์สปอร์ตคูเป้ของรุ่น Skyline ส่งถ่ายเทคโนโลยีขั้นก้าวหน้าของระบบเครื่องยนต์ ชุดส่งกำลังและระบบขับเคลื่อนแบบ 4 ล้อ โดยใช้เวลาและขั้นตอนในการทดสอบบนสนามทดสอบรถยนต์ชั้นนำของโลกที่ Nurburgring ในประเทศเยอรมัน ถึงแม้มันจะเป็นรถสปอร์ตสัญชาติญี่ปุ่นที่มิอาจเทียบเคียงในเรื่องของความ งามบนเส้นสายของตัวถังได้เท่ากับซุปเปอร์คาร์บางรุ่นจากยุโรป แต่พละกำลังมหาศาลทำให้ไม่อาจมองข้ามหรือแม้แต่ดูถูกเจ้ารถทรงอ้วนป้อมคัน นี้ได้เลยแม้แต่น้อย และนี่คือจักรกลที่มีความสุดขั้วมากที่สุดอีกคันหนึ่งของโลกแห่งรถยนต์ใน ประเภท Sport-GT

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น